สคบ.แจ้งเตือน พัดลมคล้องคอ ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อันตราย! พบสารตะกั่วเข้มข้น ใช้แล้วเสี่ยงมะเร็ง

สคบ.แจ้งเตือน พัดลมคล้องคอ ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน มี อันตราย! พบสารตะกั่วเข้มข้นมากเกินกว่ามาตรฐาน เมื่อใช้ต่อเนื่องมีโอกาสเสี่ยงมะเร็ง

แฟนเพจ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ พัดลมคล้องคอ อุปกรณ์คลายร้อนที่สามารถสวมคล้องคอไว้แล้วมีลมพัดให้อากาศถ่ายเท ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการแจ้งเตือนภัยว่า ผลิตภัณฑ์นี้ได้ถูกนำออกจากตลาด รวมถึงบนโลกออนไลน์

เนื่องจากตัวประสานบนแผงวงจร (PCB) ที่เชื่อมต่อแบตเตอรี่ และในสาย USB มีปริมาณตะกั่วเข้มข้นมากเกินไป และวัสดุพลาสติกสายเคเบิลมีความเข้มข้นของ (DEHP), (DBP) และ SCCPs) มากเกินไป หากมีการใช้งานและได้รับสารเหล่านี้ทางผิวหนังเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดมะเร็งได้

สคบ.แจ้งเตือน พัดลมคล้องคอ ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อันตราย!  พบสารตะกั่วเข้มข้น ใช้แล้วเสี่ยงมะเร็ง

ความเห็นจาก ล้ำหน้าฯ

เราได้เช็คข้อมูลจากทางเว็บของ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก (thaicas.ocpb.go.th) พบว่าสินค้าที่มีปัญหานั้น มีระบุเป็นรุ่น ไม่ได้หมายความว่า พัดลมคล้องคอ ทุกรุ่นนั้นมีอันตราย โดยเป็นสินค้า Instant Cold™ neck fan รหัส
6994319860164‎ รูปร่างหน้าตาจะเป็นแบบในรูปแรกของบทความนี้

โดยสาเหตุที่ไม่ปลอดภัยคือ ตัวผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ Directive ว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (คำสั่ง RoHS 2) หรือข้อบังคับเกี่ยวกับมลพิษอินทรีย์ถาวร (POP)

นั่นก็คือ สินค้าผลิตและวางจำหน่ายโดยไม่ได้มาตรฐาน RoHS นั่นเอง

โดยที่อันตรายนั้น จะเกิดจากการบัดกรีบนแผงวงจรพิมพ์ (PCB) มีความเข้มข้นของตะกั่วมากเกินไป และวัสดุพลาสติกในสายเคเบิลมีความเข้มข้นของ DEHP, DBP และ SCCP มากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสืบพันธุ์ การสัมผัสผ่านทางผิวหนังเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

ดังนั้น การเตือนของทาง สคบ. นี้ ไม่ได้หมายความว่า อุปกรณ์ประเภทพัดลมคล้องคอทุกรุ่นจะมีอันตรายกับสุขภาพผู้ใช้ แต่ผู้บริโภคต้องตรวจเช็คดูให้ดีว่า สินค้านั้นผ่านมาตรฐานการผลิตหรือไม่ เพราะมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้มาตรฐานในหลายจุดที่รายงาน และอุปกรณ์นั้นใช้งานใกล้ชิดกับร่างกาย ซึ่งอาจจะมีเกิดปัญหาในระยะยาวได้

พัดลมคล้องคอ อันตราย

ข้อมูลจาก Facebook :- สคบ. | thaicas.ocpb.go.th

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน