Whoscall เผย 1 ใน 4 คนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ สูญเงินเฉลี่ย 36,000 บาทต่อราย

Whoscall เผย 1 ใน 4 คนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ สูญเงินเฉลี่ย 36,000 บาทต่อราย

Whoscall เปิดเผยรายงานสถานการณ์การหลอกลวงในประเทศไทยประจำปี 2567 ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (GASA) พบว่า 28% ของคนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ ในรอบปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยสูงถึง 36,000 บาทต่อราย

สถานการณ์การหลอกลวงในไทยทวีความรุนแรง

จากผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนของ Whoscall พบว่า 58% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดย 89% ต้องเผชิญกับการหลอกลวงอย่างน้อยเดือนละครั้ง นอกจากนี้ 39% ของผู้ตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากถูกติดต่อ และมีเพียง 2% เท่านั้นที่ได้รับทรัพย์สินคืนทั้งหมด

นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวง และความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพ รายงานที่เราได้จัดทำร่วมกับ GASA และ ScamAdviser ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ๆ จากมิจฉาชีพ และผลกระทบที่เกิดขึ้น”

รูปแบบการหลอกลวงที่พบมากที่สุด

Whoscall เผย 1 ใน 4 คนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ สูญเงินเฉลี่ย 36,000 บาทต่อราย

การโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านมือถือยังคงเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามด้วยโฆษณาออนไลน์ แอปพลิเคชันส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางยอดนิยมของมิจฉาชีพ ได้แก่ Facebook (50%), Line (43%), Messenger (39%), TikTok (25%) และ Gmail (20%)

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) โดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน เป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22% ตามมาด้วยการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (19%) การออกใบแจ้งหนี้ปลอมหรือการหลอกให้ชำระหนี้ (16%) และการหลอกให้ลงทุน (14%)

การใช้ AI ในการหลอกลวง

Whoscall เผย 1 ใน 4 คนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ สูญเงินเฉลี่ย 36,000 บาทต่อราย

รายงานยังเผยว่า 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI ซึ่งมิจฉาชีพนำมาใช้ในการเขียนข้อความ สร้างบทสนทนา เลียนแบบเสียง รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ

นายจอริจ อับบราฮัม ผู้จัดการทั่วไป Global Anti-Scam Alliance (GASA) กล่าวว่า “รายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน เพิ่มการดำเนินการที่เข้มงวดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยจากมิจฉาชีพ”

การป้องกันและรับมือ

แม้ว่าคนไทยจะมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้น โดย 55% มั่นใจว่ารู้ทันกลลวงมิจฉาชีพด้วยการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ และ 44% ใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ แต่การได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้น โดย 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้

Whoscall ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชัน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่เพิ่มขึ้น เช่น ID Security เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิกลิงก์ฟิชชิ่ง และ Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทย

สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม ได้ที่ www.gasa.org/reserarch
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Whoscall ได้ฟรีจาก App Store และ Google Play Store ที่ลิงก์ https://app.adjust.com/1fh6zchh
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Whoscall และฟีเจอร์ที่มีให้บริการ ได้ที่ https://whoscall.com/th หรือ https://www.facebook.com/whoscall.thailand

ติดตามข่าวสาร อัปเดตเทคโนโลยี รีวิวของใหม่ก่อนใคร ได้ทาง www.techoffside.com และ Google News
ช่องทางโซลเชียล Facebook, Instagram, YouTube และ TikTok

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน